วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดเรื่องกฎหมาย




แบบฝึกเรื่่่องกฎหมาย

ให้ลอกโจทย์ไปวางในบล็อกของนักเรียนแล้วตอบคำถามให้ถูกต้อง 

   
1. กฎหมาย คืออะไร?
 ตอบ    กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคม  เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง
ตอบ   1. กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า  ผู้บัญญัติกฎหมายต้องมีอำนาจในรัฐ   จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือรัฐสภาที่มีอำนาจเด็ดขาดที่จะออกกฎหมายมาบังคับได้    และรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องเป็นเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ไม่เป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของประเทศอื่นใด
         2.กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไปหมายความว่า กฎหมายจะต้องใช้   บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค
         3. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
  
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ    1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและ  ประเทศชาติ 
           2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
           3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
           4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ   1. แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
          2. แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แยกได้เป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน
          3. แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย แยกได้เป็น หลายประเภท เช่น กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายสวัสดิการสังคม กฎหมายแรงงาน กฎหมายอุตสาหกรรม กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม
         4. แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
         5. การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง และกฎหมายอื่นๆ

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ
ตอบ   ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย เเบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น  
    ได้เเก่   1. รัฐธรรมนูญ
                 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                 3. พระราชบัญญัติ
                 4. พระราชกำหนด 
                 5. พระราชกฤษฏีกา
                 6. กฎกระทรวง
                 7. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้เเก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เเละข้อบัญญัติเมืองพัทยา

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ    เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ
 Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ    เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ   1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law)                 
          2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law)
          3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law)               
          4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religon Law) 

9.ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ   1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมี ประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ